หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

นางสาวพรพิมล เพ็งประภา

ศศ.ม.(ภาษาไทย)
ศศ.บ.(ภาษาไทย)

นางสาวประณิตา จันทรประพันธ์

ศศ.ม. (ภาษาไทย)
ศศ.บ. (ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร)

นายมาโนช นันทพรม

ค.ม.(วิจัยและประเมินผลทางการศึกษา)
ศน.บ. (การสอนภาษาอังกฤษ)
พธ.บ. (การสอนภาษาไทย)

นางสาวกิตติยา คุณารักษ์

ศศ.ม.(ภาษาไทย)
ศศ.บ.(ภาษาไทย)

นายบัญชา ธรรมบุตร

ศษ.ม. (การสอนภาษาไทย)
ศน.บ. (การสอนภาษาไทย)

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)

ข้อมูลหลักสูตร

ประเภทการขอรับทราบ หลักสูตรปรับปรุง (หลักสูตรปรับปรุงตามกำหนดรอบปรับปรุง)
จำนวนปริญญา หลักสูตรปรับปรุง 1 ปริญญา
เลือกใช้เกณฑ์การประเมิน 2565
วัน/เดือน/ปี ที่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติ 27/03/2566
ปีการศึกษาที่สภาอนุมัติให้เปิดสอน 2566
หลักสูตรสังกัดคณะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 25622
ปรับปรุงครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2562
1.1.1 ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (4ปี)
1.1.2 ชื่อภาษาอังกฤษ : Bachelor of Education Program in Teaching Thai
1.1.3 สถานที่จัดการเรียนการสอน : สถานที่จัดการเรียนการสอนอื่นๆ:มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย

โครงสร้างหลักสูตร

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 24 หน่วยกิต
1) รายวิชาพื้นฐาน บังคับเรียน ไม่นับหน่วยกิต 2 รายวิชา
2) รายวิชาบังคับเรียน 8 รายวิชา จำนวน 24 หน่วยกิต

ข. หมวดวิชาเฉพาะ 119 หน่วยกิต
1) กลุ่มวิชาพระพุทธศาสนา 18 หน่วยกิต

1.1) รายวิชาบังคับเรียน 12 หน่วยกิต
1.2) รายวิชาเลือกเรียน 6 หน่วยกิต

2) กลุ่มวิชาชีพครู 35 หน่วยกิต
2.1) รายวิชาชีพครู 22 หน่วยกิต
2.2) รายวิชาการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 13  หน่วยกิต

3) กลุ่มวิชาเฉพาะทางการสอนภาษาไทย 60 หน่วยกิต
1.1) รายวิชาบังคับเรียน 40 หน่วยกิต
1.2) รายวิชาเลือกเรียน  20 หน่วยกิต


4) กลุ่มวิชาเลือกเสรี  6 หน่วยกิต

รวม  143 หน่วยกิต

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (Program Learning Outcomes: PLOs)

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (Program Learning Outcomes: PLOs)
เมื่อจบการศึกษาในหลักสูตรนี้ ผู้เรียนจะสามารถ “ทำ” “คิด” และหรือ “มีคุณลักษณะ” ดังนี้


PLO 1 รอบรู้ในศาสตร์ แนวคิดและทฤษฎีสมัยใหม่เกี่ยวกับความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งใฝ่เรียน ใฝ่รู้ บูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อไปพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาสังคมได้อย่างมีความรับผิดชอบ
Sub PLO 1.1 อธิบายแนวคิดและทฤษฎีสมัยใหม่ และคุณลักษณะความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งที่จะนำมาพัฒนาตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้
Sub PLO 1.2 ประยุกต์ใช้ศาสตร์แนวคิด ทฤษฎีสมัยใหม่ในการพัฒนาตนเองให้เป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของสังคม และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคมได้6
Sub PLO 1.3 วิเคราะห์หลักการบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง แก้ไขปัญหาชีวิต ครอบครัว และสังคมได้อย่างมีเหมาะสมกับแต่ละประเด็นปัญหา
Sub PLO 1.4 แสดงถึงการมีจิตอาสาและจิตสาธารณะ มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม

PLO 2 รอบรู้ในศาสตร์ภาษาและเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และมีความรับผิดชอบ
Sub PLO 2.1 อธิบายการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเบื้องต้นในชีวิตประจำวันได้
Sub PLO 2.2 ประยุกต์ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องตามหลักภาษา เหมาะสมกับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น
Sub PLO 2.3 เลือกใช้เครื่องมือสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับจุดประสงค์ของการใช้งานโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม
Sub PLO 2.4 แสดงออกถึงการใฝ่รู้ ใฝ่เรียนและเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต

PLO 3 รอบรู้ในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนานำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อพัฒนาตนเองและสังคมตามแนวทางพุทธธรรมนำปัญญา เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมเชิงพุทธ
Sub PLO 3.1 อธิบายหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์
Sub PLO 3.2 นำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาปฏิบัติเพื่อพัฒนา และแก้ปัญหาตนเองและสังคมได้
Sub PLO 3.3 ประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมเชิงพุทธ

PLO 4 รอบรู้ศาสตร์ และองค์ความรู้ด้านหลักภาษาไทย สามารถประยุกต์ใช้ตามบริบทการเปลี่ยนแปลงของสังคมดิจิทัลในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Sub PLO 4.1 อธิบายหลักการ องค์ความรู้ด้านหลักภาษาไทย และการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
Sub PLO 4.2 ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านหลักภาษาไทยในการสื่อสารตามสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
Sub PLO 4.3 วิเคราะห์ สังเคราะห์ องค์ความรู้ด้านหลักภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง

PLO 5 รอบรู้ศาสตร์ องค์ความรู้ด้านวรรณคดีไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถประยุกต์ใช้ตามบริบทการเปลี่ยนแปลงของสังคมดิจิทัลในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างสร้างสรรค์
Sub PLO 5.1 อธิบายหลักการ องค์ความรู้ด้านวรรณคดีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
Sub PLO 5.2 ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านวรรณคดีและภูมิปัญญาท้องถิ่นตามสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
Sub PLO 5.3 วิเคราะห์ สังเคราะห์ องค์ความรู้ด้านวรรณคดี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และตีความได้

PLO 6 รอบรู้ในศาสตร์การสอนภาษาไทย จิตวิทยาสำหรับครู หลักสูตรและวิทยาการจัดการเรียนรู้ การวัดการประเมินผล การวิจัย การออกแบบและพัฒนาสื่อนวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ และการประกันคุณภาพการศึกษา
Sub PLO 6.1 อธิบายศาสตร์การสอนภาษาไทย หลักการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร หลักการแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา หลักคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับครู
Sub PLO 6.2 วิเคราะห์ศาสตร์การสอนภาษาไทย หลักสูตรและวิทยาการจัดการเรียนรู้การออกแบบสื่อนวัตกรรมโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และนำหลักการทางจิตวิทยามาร่วมในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะกับธรรมชาติของผู้เรียน
Sub PLO 6.3 ออกแบบการวิจัยสร้างและพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาผู้เรียนรวมถึงการสร้างเครื่องมือในการวัดและประเมินผล

PLO 7 บูรณาการความรู้และศาสตร์การสอนภาษาไทย และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ด้วยพุทธบูรณาการในการปฏิบัติงาน การปฏิบัติตนด้วยจรรยาบรรณวิชาชีพและจิตวิญญาณความ
เป็นครู
Sub PLO 7.1 บูรณาการความรู้และศาสตร์การสอนภาษาไทย สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลในการวางแผนและการจัดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีปัญญารู้คิดด้วยพุทธบูรณาการ
Sub PLO 7.2 ถ่ายทอดองค์ความรู้และศาสตร์การสอนภาษาไทยด้วยพุทธบูรณาการในการปฏิบัติหน้าที่ครูตามจรรยาบรรณวิชาชีพ คุณธรรม จริยธรรม และจิตวิญญาณความเป็นครู